การปรับตัวในการทำงาน

การปรับตัวในการทำงาน

          ท้องฟ้าทุกวันอย่างเปลี่ยนสี มีหรือที่ชีวีตจะไม่เปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าทุกชีวิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีอะไรที่มั่นคงอยู่เสมอไป ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ในการเปลี่ยนงานก็เช่นกัน เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองมากขึ้น เราไม่สามารถอยู่กับที่เดิม ตำแหน่งเดิมๆ ไม่มีความก้าวหน้า ทุกคนมักแสวงหาจุดเปลี่ยนที่นำชีวิตเราไปสู่ในทางที่ดีขึ้นเสมอ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เนื้องานเสมอไป การใช้ชีวิตในที่ทำงานก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในที่ทำงาน ถ้าหากเราไม่ได้มีความสุขกับที่ทำงาน การทำงานของเราจะมีความสุขหรือ ดังนั้นลองมาดูวิธีที่จะปรับตนเองให้กับเข้ากับเพื่อนร่วมงานโดยพี่ไม่เบียดเบียนหรือจุกจิกเขามากจนเกินไป

  1. เริ่มต้นสิ่งดีๆด้วยการกล่าวทักทายเพื่อนร่วมงาน เพียงแค่การกล่าวประโยคสวัสดีสั้นๆ พร้อมรอยยิ้มหวานๆ สักทีก็ไม่เสียหายอะไร หรือการยกมือไหว้สไตล์แบบไทยของเรา หรือทักทายทำความรู้จักก่อน เพราะคนที่ทำงานใหม่ก็อยากรู้จักคุณเหมือนกัน แค่นี้ความตึงเครียดของการไม่รู้เขารู้เราก็บรรเทาไปเยอะ แล้วก็วางตัวเป็นมิตรกับทุก ๆ คนด้วยการทักทายพูดคุยเรื่องทั่วไป หรือแนะนำตัวว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมฝากเนื้อฝากตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีไว้ก่อนเลย
  2. มีมารยาท สุภาพอ่อนโยน ไม่ว่าใครรุ่นพี่ หรือรุ่นน้อง ผู้ใหญ่หรือเด็กกว่า มักชอบคนที่มีมารยาทกันทั้งนั้น กับผู้ใหญ่วางตัวเป็นเด็กที่ไม่ก้าวร้าว กับรุ่นน้องแสดงมารยาทโดยการทำตัวเป็นที่น่าเคารพนับถือ ไม่วางมาดให้ตนเองดูน่าเกรงขาม การพูดจาก็เช่นกัน สังคมไทยเป็นสังคมที่ชื่นชอบหางเสียง แค่พูดทุกประโยคให้ติดคำว่า ครับ/ค่ะ ก็คงจะไม่ยากจนเกินไป
  3. คิดบวกให้มากกว่าคิดลบ ลองสังเกตดูสิว่าคนที่คิดบวก จะมีพลังงานบางอยู่ที่ดึงดูดผู้คนเข้าหาอยูเสมอ หรือการเป็นคนที่เข้ากับคนได้ง่าย ไม่ถืออคติที่มากจนเกินไป ก็สามารถอยู่ร่วมกับที่ทำงานใหม่ได้อย่างง่ายดาย
  4. เป็นผู้ฟังที่ดี ในการทำงานมักการขอความคิดเห็นอยู่เสมอ คนที่มีความมั่นใจและยอมรับผลตอบรับนั้นได้ ก็สามารถสามารถแสดงความเห็น หรือให้ข้อแนะนำได้เลย แต่หากว่าใครที่ยังไม่มีความมั่นใจ ยังมีความกังวลอยู่บ้าง เราขอแนะนำให้ทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี จดจำข้อมูลรายละเอียดที่ควรรู้ให้ได้มากที่สุด และหากทำงานยังไม่ได้ ลองพยายามดูอีกสักครั้ง ก่อนที่จะวิ่งไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  5. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ข้อนี้ต้องใช้การสังเกตเป็นอย่างดี โดยการสังเกตต้องไม่ใช่การจับผิด และค่อยๆ สังเกต ไม่ใช่การจ้องเขม็งจะทำให้ผู้คนรู้สึกอึดอัดใจ การสังเกตในที่นี้หมายถึงว่าให้สังเกตการทำงาน ไลฟ์สไตล์ของเพื่อนร่วมงานว่าเขาทำงานกันอย่างไร สื่อสารหรือส่งงานกันอย่างไร แล้วค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆ จะได้ลดระยะห่างระหว่างตัวเราและเพื่อนร่วมงานท่านอื่นๆ

editor

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Read also x